วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

423460 Educational Technology Profession Practicum

บันทึกการฝึกงาน

สถานที่ ที่ผมได้มาฝึกงานคือ หน่วยงานของ กองกลาง งานประชาสัมพันธ์ ชั้น 2 อาคาร ภปร. มหาวิทยาลัยบูรพา เลขที่ 169 ถนนลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง
จ.ชลบุรี 20131
โทรศัพท์ 0-3810-2222 ต่อ 2120 - 2124 โทรสาร. 0-3839-0353
ซึ่งงานประชาสัมพันธ์ เป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญต่อมหาวิทยาลัยบูรพา เพราะเป็นหน่วยงานที่สื่อสารประชาสัมพันธ์ให้กับบุคคลและประชาชนทั่วไป จำมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องดำเนินการพัฒนามหาวิทยาลัยให้สอดคล้องควบคู่ กับนโยบายการบริหารมหาวิทยาลัย และปฎิบัติตามนโยบาย

ความหมายของประชาสัมพันธ์ หมายถึง เป็นการจัดการขององค์การเพื่อสร้างสัมพันธภาพอันดีกับผู้รับข่าวสารกลุ่มต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับความคิดเห็นทัศนคติ และค่านิยม หรือเป็นการติดต่อสื่อสารกับชุมชนทั้งภายในภายนอกเพื่อสร้างภา
พพจน์ขององค์กรกับสาธารณชน

หน้าที่ของผมในหน่วยงานประชาสัมพันธ์ นั้น ผมประจำอยู่ที่ห้องโสตของฝ่ายประชาสัมพันธ์ ทำหน้าที่ตัดต่อวีดิโอ โดยใช้โปรแกรม Adobe Premiere Por 2.0 พี่ที่สอนงานผมเป็นกันเองมากและเอาใจใส่ในการสอนกระบวนการการทำงานต่างๆ สอนใช้โปรแกรมต่างๆ จนเกิดความเข้าใจและใช้งานได้เป็นอย่างดี จึงทำให้ผมได้ประโยชน์ในการฝึกงานครั้งนี้






บัตรประจำตัวในการฝึกงานที่หน่วยงานประชาสัมพันธ์

วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ผลงานครั้งที่ 5 ออกแบบ Wallpaper

Wallpaper 1 หัวข้อ Educational Technology



Wallpaper 2 สื่อสารเป็นเลิศ อัต ลักษณ์ครูยุคใหม่



Wallpaper 3 ศึกษาศาสตร์ก้าวไกล



Wallpaper 4 สังคมออนไลน์ มหันตภัย ที่ใกล้ตัว

ผลงานครั้งที่ 4 กิจกรรมการออกแบบ Templete PowerPoint (ชุดที่5) ใช้หลักการวางโครงสี Tetrads

หน้า 1 หัวเรื่อง





หน้า 2 เนื้อหา





หน้า 3 ขอบคุณ


ผลงานครั้งที่ 4 กิจกรรมการออกแบบ Templete PowerPoint (ชุดที่4) ใช้หลักการวางโครงสี Dyads

หน้า 1 หัวเรื่อง






หน้า 2 เนื้อหา





หน้า 3 ขอบคุณ


ผลงานครั้งที่ 4 กิจกรรมการออกแบบ Templete PowerPoint (ชุดที่3)ใช้หลัการวางโครงสี Triads

หน้า 1 หัวเรื่อง





หน้า 2 เนื้อหา





หน้า 3 ขอบคุณ


ผลงานครั้งที่ 4 กิจกรรมการออกแบบ Templete PowerPoint (ชุดที่2) ใช้หลัการวางโครงสี Analogus

หน้า 1 หัวเรื่อง



หน้า 2 เนื้อหา



หน้า 3 ขอบคุณ

ผลงานครั้งที่ 4 กิจกรรมการออกแบบ Templete PowerPoint(ชุดที่1) ใช้หลัการวางโครงสี Monochrome

Template หน้า 1 หัวเรื่อง(Thai Version)




Template หน้า 2 เนื้อหา(Thai Version)



Template หน้า 3 ขอบคุณ(Thai Version)

วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2554

ผลงานครั้งที่ 3 ออกแบบ Poster 5 หัวข้อ





รณรงค์การใช้ 13 ฟอนต์แห่งชาติ ใช้เทคการวางโครงสี Monochrome






รณรงค์ให้สวมหมวกนิรภัย ใช้เทคการวางโครงสี Triads






รณรงค์ให้งดสูบบุหรี่ในสถานศึกษา และห้ามสูบบุหรี่ในขณะใส่ชุดนิสิต
ใช้เทคการวางโครงสี Dyads






รณรงค์มารยาทไทย การไหว้ กล่าวคำขอบคุณ ขอโทษ และแสดงการมีน้ำใจ
ใช้เทคการวางโครงสี Analogus



รณรงค์ลดโลกร้อน(หัวข้ออิสระ)
ใช้เทคการวางโครงสี Tetrads

วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554

ผลงานวันที่ 7 เมษายน 2554

การออกแบบโปรสเตอร์




การทำตัวอักษรทอง


วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2554

การออกแบบงานกราฟฟิกด้วยการวางโครงสี

การวางโครงสี Colour Schematic
การใช้สีคือ การนำเอาสีไปใช้ในงานออกแบบ หลายคนไม่รู้จะใช้สีอย่างไรดี เลือกเอาสีที่ตัวเองชอบปะเข้าไปในงาน ผลก็คือ ทำให้งานดี ๆ ของเขาออกมาเสียหมดดังนั้นจึงมีทฤษฎีของการใช้สี หรือการเลือกสีมาใช้ร่วมกันในภาพ เพื่อให้ภาพออกมาดูดี ดูน่าพึงพอใจเรียกว่า Colour Schematic หรือการวางโครงสี (ซึ่งบางคนก็คุ้นกับคำว่า การจับคู่สี การเลือกคู่สี)


1.Monochrome




Monochrome หรือโครงสีเอกรงค์ คือมีเนื้อสี Hue เดียว แต่ให้ความแตกต่างด้วยน้ำหนักสีValue สีเอกรงค์นี้ ให้อารมณ์ ความรู้สึก สุขุม เรียบร้อยเป็นสากล ไม่ฉูดฉาดสะดุดตา และในด้านการออกแบบเป็นการใช้คู่สีที่ง่ายที่สุด แล้วออกมาดูดี (เลือกแค่สีเดียวแล้วนำมาผสมขาว ผสมดำ หรือปรับค่าความสว่าง Brightmess เพื่อเปลี่ยนน้ำหนักสี Analogus


2.Analogus




Analogus หรือโครงสีข้างเคียง คือสีที่อยู่ติดกัน อยู่ข้างเคียงกัน ในวงจรสี จะเป็นที่ละ 2 หรือ 3 หรือ 4 สีก็ได้ แต่ไม่ควรมากกว่านี้เพราสีอาจจะหลุดจากความข้างเคียง หรือ หลุดออกจากโครงสีนี้ได้


3.Dyads





Dyads หรือโครงสีคู่ตรงข้าม Complementary Colour คือสีที่อยู่ตรงกันข้ามกันในวงจรสี การเลือกใช้สีคู่ตรงข้ามจะทำให้งานที่ได้มีความสะดุดตาในการมองแต่ก็ต้องระวังการใช้สีคู่ตรงข้าม เพราะการเลือกใช้สึคู่ตรงข้ามด้วยกันนั้นถ้าเราหยิบสี 2 สีที่ตรงข้ามกันมาใช้ในพื้นที่พอ ๆ กัน งานนั้นจะดูไม่มีเอกภาพ ซึ่งเป็นหลักสำคัญในการทำงานศิลปะทางที่ดีเราควรแบ่งพื้นที่ของสีในภาพของการใช้สีใดสีหนึ่งมากกว่าอีกสีหนึ่งโดยประมาณมักจะใช้สีหนึ่ง70 % อีกสีหนึ่ง 30 % ภาพที่ได้ก็จะคงความมีเอกภาพอยู่ และยังมีความเด่นสะดุดตาไปได้ในตัว

4.Triads



Triads หรือโครงสี 3 สี คือ 1. เป็นการใช้สี 3 สี ในช่วงห่างระหว่างสีทั้ง 3 เท่ากัน ถ้าเราลากเส้นระหว่างสีทั้ง 3 สี เราจะได้สามเหลี่ยมด้านเท่า 2. เป็นการใช้สี 3 สี ในช่วงห่างระหว่างสีทั้ง 3 ไม่เท่ากันคือมีช่วงห่าง 2 ช่วงเท่ากัน แต่กับอีกอันหนึ่งช่วงห่างจะยาวกว่า ถ้าลากเส้นระหว่างสีแล้วจะได้สามเหลี่ยมหน้าจั่ว


5.Tetrads



Tetrads หรือโครงสี 4 สี คือ
1. การใช้สีในวงจรสี 4 สี โดยเลือกสีที่มีช่วงห่างระหว่างสีเท่ากันหมดกล่าวคือ ถ้าเราลากเส้นเชื่อมสีทั้ง 4 สีแล้ว เราจะได้สี่เหลี่ยมจัตุรัส
2. การใช้สีในวงจรสี 4 สี โดยเลือกสีที่มีช่วงห่างระหว่างสีไม่เท่ากันโดยช่วงห่างของ 2 สีเป็นช่วงสั้นและอีก 2 สีเป็นช่วงยาว กล่าวคือถ้าเราลากเส้นเชื่อมสีทั้ง 4 สีแล้ว เราจะได้สี่เหลี่ยมผืนผ้า

วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554

workshop1 การเน้นภาพ



เทคนิคงานกราฟิก Photoshop เน้นภาพถ่ายในส่วนที่ต้องการเน้น เทคนิคการเน้นภาพถ่าย ในส่วนที่เราต้องการ ให้เด่น ขึ้น ด้วย Photoshop เทคนิคแบบนี้ จริงๆ แล้วมีหลายแบบ นะครับ แต่ที่ผมขอนำ เสนอ ในครั้งนี้คือ การทำให้ ส่วนที่เราไม่ต้องการทั้งหมด กลายเป็นภาพ ขาวดำ

1 เตรียมภาพที่เราต้องการ นำมาใช้

2. ทำ Selection ในส่วนที่ต้องการให้เด่นเขึ้น

3. ไปที่ Image > Adjustments > Curves..

4. ไปที่ Select > Inverse เพื่อ เลือก จุด Selection เป็นรอบนอกแทน

5. ไปที่ Image > Adjustments >Desaturte

6. จะได้่ภาพรอบนอกใน ลักษณะสี เทา จากนั้นไปที่ Image > Adjustments > Hue/ Saturtion

7. จากนั้นปรับ Hue: -180 Saturation -100 เพื่อตัดสี ทั้งหมด ปรับ Lightness -25 ลดแสงออก พอประมาณ +

8. ไปที่ Image > Adjustments > Curves.. อีกครั้ง เพื่อปรับ ให้ สีขาวดำ ของภาพ ดู สดไปด้วย 9. จากนั้นกด Ctrl+D เพื่อ เอา Selection ออก จะได้ภาพที่ต้องการแล้วครับ

กิจกรรมครั้งที่ 1 เปิดโลก Computer Graphic

Graphic คืออะไร


Graphic คือ
กราฟิก เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตัวเราอย่างมาก กราฟิก ไม่ว่าจะเป็น สัญลักษณ์ โลโก้ กระดาษ แผ่นพับ โฆษณา กราฟิกมีที่มาจากคำในภาษากรีก คือ Graphikos ที่แปลว่า "การวาดเขียน และเขียนภาพ“ หรือคำว่า "Graphein" ที่แปลว่า "การเขียน"

นิยามของ Graphics
ศิลปะอย่างหนึ่ง ที่แสดงออกด้วยความคิดอ่าน โดยใช้เส้น รูปภาพ ภาพเขียน ไดอะแกรม และอื่นๆ การสื่อความหมายด้วยการใช้ภาพวาด ภาพสเกต แผนภาพ ภาพถ่าย และอื่นๆ ที่ต้องอาศัยศิลปะ และศาสตร์ เข้ามาช่วย เพื่อให้ผู้ดูเกิดความคิด และตีความหมายได้ตรงตามที่ผู้สร้างสรรค์ต้องการสื่อ เช่น แผนภูมิ แผนภาพโฆษณา การ์ตูน เป็นต้น

โสตทัศนวัตถุที่ผลิตขึ้นเพื่อแสดงสัญลักษณ์ หรือความหมายของสิ่งหนึ่งสิ่งใด ทำให้คนได้มองเห็นความจริง หรือความคิดอันถูกต้องชัดเจนจากวัสดุกราฟิกนั้นๆ การพิมพ์ การแกะสลัก การถ่ายภาพ และการจัดทำหนังสือ

คอมพิวเตอร์กราฟิกส์คืออะไร
คือ กราฟิกที่นำคอมพิวเตอร์มาดำเนินการ ตั้งแต่การเตรียมการ ออกแบบ นำเสนอ ใช้งาน




ความสำคัญของกราฟิกส์
-เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมาย
-เกิดการเรียนรู้ การศึกษา
-เกิดความน่าสนใจ ประทับใจ และน่าเชื่อถือ
-กระตุ้นความคิด
-ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
-ส่งเสริมความก้าวหน้าทางความคิด



ความเข้าใจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก

ความละเอียดในการแสดงผล ( Resolution )
คำนี้สามารถใช้ได้กับสถานการณ์ที่แตกต่างกัน เช่น ความละเอียดของการแสดงผลของเครื่องพิมพ์ หรือความละเอียดในการแสดงผลของจอภาพ ดังนั้นความละเอียดในการแสดงผลจึงหมายถึง จำนวนหน่วยต่อพื้นที่

ความเข้าใจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก
ความละเอียดของรูปภาพ หมายถึง


ความเข้าใจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก
จำนวนพิกเซลต่อพื้นที่การแสดงผล มีหน่วยเป็นพิกเซลต่อนิ้ว โดยพิกเซลจะมีขนาดไม่แน่นอนขึ้นกับอุปกรณ์เอาต์พุต เช่น หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ ถ้ารูปภาพมีความละเอียด 300 dpi เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์สามารถพิมพ์ได้ 300 dpi นั่นคือเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์จะใช้ 1 จุดสำหรับแต่ละพิกเซลของภาพ

ความเข้าใจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก
ความละเอียดของจอภาพ หมายถึง


หน่วยของจำนวนจุดที่มากที่สุดที่จอคอมพิวเตอร์สามารถผลิตได้ โดยความละเอียดในการแสดงผลของจอ จะขึ้นกับวีดีโอการด ที่เรียกว่าการ์ดจอ ซึ่งจะมีความสามารถในการแสดงผลหลากหลาย เช่น แสดงผลที่ความละเอียด 800 x 600 พิกเซล หมายถึง จำนวนพิกเซลในแนวนอน เท่ากับ 800 และจำนวนพิกเซลในแนวตั้ง เท่ากับ 600




ความละเอียดของเครื่องพิมพ์ คือ จำนวนจุดเลเซอร์ที่เครื่องพิมพ์สามารถผลิตได้ต่อนิ้ว เช่น ถ้าเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์มีความละเอียด 300 จุดต่อนิ้ว ( dots per inch – dpi ) นั่นคือ เครื่องพิมพ์สามารถพิมพ์ได้ 300 จุดทุกๆ 1 นิ้ว

ความละเอียดของอิมเมจเซตเตอร์อิมเมจเซตเตอร์ (Image setter) คือเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ที่มีคุณภาพสูง สามารถพิมพ์ลงบนกระดาษถ่ายภาพ หรือฟิล์มก็ได้ โดยสามารถพิมพ์รูปภาพให้ความละเอียด 1800 dpi ถึง 3000 dpi

ความละเอียดในการแสดงผล ( Resolution )
คำนี้สามารถใช้ได้กับสถานการณ์ที่แตกต่างกัน เช่น ความละเอียดของการแสดงผลของเครื่องพิมพ์ หรือความละเอียดในการแสดงผลของจอภาพ ดังนั้นความละเอียดในการแสดงผลจึง หมายถึง จำนวนหน่วยต่อพื้นที่

ความละเอียดของรูปภาพ
หมายถึง จำนวนพิกเซลต่อพื้นที่การแสดงผล มีหน่วยเป็นพิกเซลต่อนิ้ว( pixels per inch - ppi )โดยพิกเซลจะมีขนาดไม่แน่นอนขึ้นกับอุปกรณ์เอาต์พุต




บิต ( BIT )
Bit ย่อมาจาก Binary Digit หมายถึง หน่วยความจำที่เล็กที่สุดของคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยตัวเลข 2 จำนวน คือ 0 หมายถึงปิด และ 1 หมายถึงเปิด หรือสีขาวและสีดำ




ความลึกของบิต
หมายถึง จำนวนบิตที่ใช้ในแต่ละพิกเซล ในกราฟิกแบบบิตแมปสีของพิกเซลถูกบันทึกโดยใช้บิต ถ้าใช้สีมากก็แสดงสีได้มากขึ้น


ระบบสี ( Color Model )
สีที่ใช้ในงานด้านกราฟิกทั่วไป มี 4 ระบบ คือ
1. RGB
2. CMYK
3. HSB
4. LAB

รูปแบบของภาพ
ภาพที่เกิดบนจอคอมพิวเตอร์ เกิดจากการทำงานของโหมดสี RGB ซึ่งประกอบด้วย สีแดง (Red) สีเขียว (Green) และสีน้ำเงิน (Blue) โดยใช้หลักการยิงประจุไฟฟ้าให้เกิดการเปล่งแสงของสีทั้ง 3 สี มาผสมกันทำให้เกิดเป็นจุดสีเล็ก ๆ ที่เรียกว่า พิกเซล (Pixel) โดยพิกเซลจะมีหลากหลายสี เมื่อนำมาวางต่อกันจะเกิดเป็นรูปภาพ ซึ่งภาพที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ มี 2 ประเภท คือ

1.ภาพกราฟิกแบบ Raster
ภาพกราฟิกแบบ Raster หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แบบ Bitmap เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการเรียงตัวของจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ หลากหลายสี ที่เรียกว่า พิกเซล ในการสร้างภาพกราฟิกแบบ Raster จะต้องกำหนดจำนวนพิกเซลให้กับภาพที่ต้องการสร้าง ถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลน้อย เมื่อขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้น จะทำให้มองเห็นภาพเป็นจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ หรือถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลมากก็จะทำให้แฟ้มภาพมีขนาดใหญ่






2.ภาพกราฟิกแบบ Vector
เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ หรือการคำนวณ ซึ่งภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง รูปทรง เมื่อมีการขยายภาพความละเอียดของภาพจะไม่ลดลง แฟ้มมีขนาดเล็กกว่าแบบ Raster




รูปแบบของไฟล์
ไฟล์กราฟิกที่สนับสนุนระบบอินเทอร์เน็ต ปัจจุบันมี 3 ไฟล์หลัก ๆ คือ
1. ไฟล์สกุล GIF ( Graphics Interlace File)
2. ไฟล์สกุล JPG ( Joint Photographer's Experts Group)
3. ไฟล์สกุล PNG ( Portable Network Graphics

Transparent Feature
หมายถึงคุณลักษณะของภาพ ที่มีการดรอป ( Drop) การแสดงสีที่ต้องการ มักจะเป็นสีพื้น (จริงๆ เลือกสีได้มากกว่า 1 สี) เพื่อให้สีที่เลือกโปร่งใส และแสดงผลตามสีพื้นของ Browser

Interlace Feature
หมายถึงคุณลักษณะของการแสดงผลแบบโครงร่าง และค่อยๆ แสดงแบบละเอียด โดยใช้หลักการแทรกสอดของเส้นสี โดยปกติการแสดงผลภาพบนอินเทอร์เน็ต จะแสดงผลไล่จากขอบบนของภาพจนถึงขอบล่าง ซึ่งมักจะแสดงผลช้ามาก เพราะต้องรอให้แต่ละส่วนแสดงผลครบทุกความละเอียด

การนำเสนอแบบโครงร่าง ( Progressive)
การนำเสนอแบบโครงร่างของไฟล์ . JPG แตกต่างกับไฟล์ . GIF คือ อาศัยการแสดงผลแบบโครงร่างด้วยภาพความละเอียดต่ำ แทนการนำเสนอแบบเส้นสี ลักษณะของภาพแบบนี้จึงจะแสดงผลโดยมีลักษณะของภาพโครงร่างทั้งภาพที่มีจุดของภาพเบลอๆ แล้วค่อยๆ กระจายจุดภาพให้เต็มทั้งภาพ

ประเภทของโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิก



1. Photo Retouchingโปรแกรมที่เหมาะสำหรับการแก้ไข ตกแต่งภาพ และ ทำเอฟเฟกต์ให้กับภาพที่ได้สร้างขึ้นมาแล้ว ซึ่งอาจจะ มาจากภาพถ่ายจริง ได้แก่ Adobe PhotoShop, Corel Photopaint, PaintShop


2. Graphic Illustrator โปรแกรมสำหรับการออกแบบงานกราฟิก หรืองาน Lay out ซึ่งเป็นงานสองมิติ มีการเขียนรูปในลักษณะการเน้น เส้นเน้นรูปทรงเรขาคณิต ซึ่งไม่ใช่รูปถ่าย ได้แก่ Adobe Illustrator, CorelDraw


3. Computer Aided Design โปรแกรมสำหรับการเขียนภาพที่แสดงออกถึงมิติ ขนาด ที่ ให้ความชัดเจนของวัตถุที่ต้องการสร้างขึ้นมา ได้แก่ Auto CAD, Prodesign


4. 3D Photo Realistic โปรแกรมที่สามารถสร้างภาพสามมิติ ที่มีมวลและปริมาตร และมีคุณสมบัติของพื้นผิว จนเกิดความสมจริงของแสง และเงา ได้แก่ 3D studio MAX, Auto CAD 3D



5. Presentation
โปรแกรมกราฟิก สำหรับช่วยในการนำเสนองาน ใน ลักษณะเป็นสไลค์ประกอบคำบรรยาย มีการสร้างภาพ กราฟฟิกที่ดูแล้วเข้าใจง่ายขึ้น เช่น กราฟชนิดต่าง ๆ หรือการสร้างแผนผังการจัดองค์กรโปรแกรมประเภทนี้ ส่วนมากใช้ในงานธุรกิจ


6. Animationเป็นโปรแกรมสร้างภาพเคลื่อนไหวตามลำดับ โปรแกรมจะ แสดงภาพเป็นลำดับให้แลดูเหมือนภาพเคลื่อนไหว โดย อาจมีเทคนิคต่างๆ ประกอบการแสดงภาพเช่น การซ้อนภาพ ,เลื่อนภาพ, การเลื่อนภาพให้หายไปได้ และ การ แปลงภาพ รวมถึงมีลักษณะการโต้ตอบกับผู้ใช้ด้วย




ความคาดหวังของรายวิชา.....
1.สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
2.ได้ความรู้และเทคนิควิธีในการใช้Programต่างๆ
3.สามารถสร้างและพัฒนาคอมพิวเตอร์กราฟฟิกได้อย่างสร้างสรรค์